ความดันโลหิต ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว แม้ว่าในปัจจุบันเราจะมีความรู้เกี่ยวกับกับสุขภาพกันมากขึ้น ตื่นตัวในเรื่องการออกกำลังกายดูแลตัวเองให้สุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอ แต่ก็มีโรคที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี นั้นคือ “โรคความดันโลหิต” นั้นเอง เจ้าโรคนี้ถือเป็นภัยเงียบที่ทุกคนสามารถเป็นกันได้ในทุกช่วงอายุวัย และยังมีความอันตรายต่อสุขภาพร่างกายของเราเป็นอย่างมากอีกด้วย มาทำความรู้จักโรคความดันโลหิตอาการเป็นอย่างไร และวิธีสังเกตว่าใช่เราหรือเปล่าพร้อมวิธีป้องกันเจ้าโรคความดันโลหิตนี้กันดีกว่า
รู้จักโรคความดันโลหิต
ความดันโลหิต คือ ค่าความดันภายในหลอดเลือดแดงที่เกิดจากการบีบตัวของหัวใจ เพื่อส่งออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายเรา โดยแบ่งออกเป็น 2 ค่า ประกอบด้วยดังนี้
- ค่าความดันโลหิตตัวบน (Systolic Blood Pressure) คือค่าความดันโลหิตที่เกิดขึ้นในขณะที่หัวใจบีบตัว
- ค่าความดันโลหิตตัวล่าง (Diastolic Blood Pressure) คือค่าความดันของเลือดในขณะที่หัวใจคลายตัว
โดยทั่วไปค่า
ความดันโลหิตเกณฑ์ปกติ จะอยู่ที่
120/80 (mm/Hg) แต่หากค่าความดันแต่งต่างจากนี้
- ระดับที่ 1 ความดันโลหิตค่อนข้างสูง แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 121-139/80-89 (mm/Hg)
- ระดับที่ 2 ความดันโลหิตสูงมาก คือ ความดันโลหิตตัวบนมากกว่า (หรือเท่ากับ) 140 (mm/Hg) และตัวล่างมากกว่า (หรือเท่ากับ) 90 (mm/Hg)
- ระดับที่ 3 ความดันโลหิตระดับอันตราย 160/100 (mm/Hg)
ค่าความดันโลหิตสูงระดับอ่อนหรือปานกลาง มักจะไม่แสดงอาการอะไรในผู้ป่วยแต่เราควรต้องเฝ้าระวัง และมั่นคอยตรวจเช็คความดันเป็นระยะๆ เพื่อสุขภาพที่ดีของเรา หรือมีเครื่องวัดความดันติดไว้ที่บ้านก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยเช็คสุขภาพได้ตลอดเวลา เช่นกัน
(ตัวย่อบนเครื่องวัดความดัน หมายถึง SYS คือค่าความดันขณะหัวใจบีบ / DIA คือค่าความดันขณะหัวใจคลาย / PUL คือชีพจรหรืออัตราการเต้นของหัวใจ)
ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วค่าความดันปกติของประชากรไทยตัวบนจะอยู่ในช่วงไม่เกิน 140 และค่าตัวล่างไม่เกิน 90 มิลลิเมตรปรอท หากเกินกว่านี้ถือว่าดันโลหิตสูง
สาเหตุการเป็นความดันโลหิตสูง และความดันโลหิตต่ำ
ในปัจจุบันพบว่าคนที่มีความเสี่ยงเป็นความดันโลหิตสูงมีอายุน้อยลงเลื่อยๆ ซึ่งโดยปกติผู้ที่มีอาการความดันโลหิตสูงมักจะตรวจไม่พบสาเหตุ แต่หากมีการตรวจพบมักมีสาเหตุมาจากโรคหรือภาวะอื่น ๆ เช่น โรคไต หลอดเลือดแดงตีบ หลอดเลือดไตตีบ เกิดเนื้องอกบริเวณต่อมใต้สมองและต่อมหมวกไต เป็นต้น นอกจากนี้ยังเกิดจากพฤติกรรมหรือสาเหตุเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ออกกำลังกาย การเป็นโรค เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น การรับประทานอาหารที่มีรสเค็มมากเกินไป ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และพันธุกรรม เป็นต้น
ลักษณะอาการของโรคความดันโลหิต
โดยลักษณะทั่วไปภาวะความดันโลหิตสูงมักจะไม่แสดงอาการใดๆ แม้ว่าค่าความดันจะสูงเกินระดับปกติก็ตาม แต่หากอยู่ในภาวะที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ผู้ป่วยจะมีอาการเกิดขึ้นชั่วคราว ดังนี้
- เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลมกะทันหัน
- ใจเต้นแรง ใจสั่น
- ตาพร่าเบลอ
- คลื่นไส้
- เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
- กระหายน้ำ
นอกจากนี้ยังมีอาการหน้ามืดเมื่อมีการเปลี่ยนท่านั่ง หรือท่ายืนกะทันหัน ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการป้องกันได้ด้วยการยกศีรษะสูงขณะนอน และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะทำให้เกิดอาการแย่ลง เช่น การนอนนาน ๆ การลุก หรือนั่งอย่างรวดเร็ว การอาบน้ำอุ่นจัด เป็นต้น
วิธีป้องกันความดันโลหิตสูงเบื้องต้นด้วยตนเอง
ไม่ว่าคุณจะเป็นเพศไหน เชื้อชาติใด อายุเท่าไร ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสุงได้ทั้งนั้น ฉะนั้นเราสามารถป้องกันการเกิดอาการเหล่านี้ได้ด้วยตนเองเบื้องต้นง่ายๆ เพียงแค่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้มั่นดูแลตัวเองมากขึ้น แทนที่จะพึงพาอาศัยยารักษาเมื่อเป็นความดันโลหิตสูงไปแล้วนั้นเอง
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยเลือกการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- เลือกทานอาหารที่มีความมัน,ความเค็มให้น้อยลง เพิ่มปริมาณผักผลไม้ให้มากขึ้น
- ลดการดื่มแอลกอฮอล์ และงดการสูบบุรี่(ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุดต่อปอด หัวใจ และหลอดเลือด)
- บริหารจัดการเรื่องความเครียดของตัวเราเอง โดยการหากิจกรรมทำเพื่อผ่อนคลาย
**ปรึกษาแพทย์หากต้องมีการใช้ยา เพราะยาบางชนิดทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
เตรียมตัวก่อนวัดความดันด้วยตนเองที่บ้าน
- ไม่ดื่มชา กาแฟ สูบบุหรี่ หรือออกกำลังกายก่อนทำการวัด 30 นาที
- ก่อนทำการวัดควรถ่ายปัสสาวะให้เรียบร้อย
- นั่งเก้าอี้โดยให้หลังพิงพนัก เพื่อไม่ให้หลังเกร็งเท้าทั้ง 2 ข้าง วางราบกับพื้น เพื่อให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายเป็นเวลา 5 นาที ก่อนวัดความดันโลหิต
- วัดความดันโลหิตในแขนข้างที่ไม่ถนัด หรือข้างที่มีความดันโลหิตสูงกว่า โดยวางแขนให้อยู่ในระดับเดียวกันกับหัวใจ
- ขณะวัดความดันโลหิตไม่กำมือ ไม่พูดคุยหรือขยับตัว
จากที่กล่าวมาทั้งหมด เราพอจะรู้กันแล้วว่าโรคความดันโลหิตสูง นี้เป็นภัยเงียบที่น่ากลัว และอันตรายต่อ สมอง ไต และหัวใจของเราเป็นอย่างมาก การที่เราได้ตรวจเช็คค่าความดันของเราอย่างสม่ำเสมอเป็นโอกาสที่ดี ในการเตรียมตัวป้องกัน และรับมือกับความเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้ อาจจะต้องเลือกเครื่องวัดความดันที่มีคุณภาพ วัดค่าได้ตรงแม่นยำ และได้มาตรฐาน
PPEMATE ขอแนะนำ
Beurer ผลิตภัณฑ์คุณภาพผู้นำเรื่องสุขภาพ จากประเทศ เยอรมัน และได้รับการ
รับรองมาตรฐานสากล
คลิกเลือกเลย!! รวมให้แล้ว
เครื่องวัดความดันโลหิตและชีพจร หน้าจอแสดงผลแบบดิจิตอล
ล้ำสมัย
อีกช่องทางสอบถาม หรือขอใบเสนอราคา
https://www.facebook.com/PPEMATE.Safety
Line : @ppemate หรือคลิก https://lin.ee/yyfFLmS
เรียบเรียบโดย : Napat.k
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้ที่นี่