เสื้อกักสะท้อนแสง น่ารู้ น่าใช้ เพื่อความปลอดภัยในงานของคุณ

  • บทความ
  • ความปลอดภัย
  • โพสต์เมื่อ 19 เม.ย 2565
  • อ่านแล้ว 7,280 คน
          หากเป็นเรื่องของความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน เสื้อกั๊กสะท้อนแสง(Safety Vest) เป็นอุปกรณ์อีกชิ้นที่จำเป็นต้องมีในการเยี่ยมชมพื้นที่ก่อสร้างต่างๆ คงจะดีไม่น้อยหากมีเสื้อผ้าน้ำหนักเบาที่สามารถช่วยปกป้องชีวิตของเราได้ แถมยังสวมใส่สบาย น้ำหนักเบา แต่เจ้าเสื้อกั๊กที่ว่าเป็นอย่างไรไปดูกัน
 
          เสื้อกั๊กสะท้อนแสง(Safety Vest) เป็นชุดอุปกรณ์นิรภัยเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้สวมใส่ในขณะปฏิบัติงานตามอาคารและสถานที่ต่างๆ จุดประสงค์ในการสวมใส่เสื้อชูชีพ คือเพื่อให้มองเห็นผู้สวมใส่ และเตือนทุกสิ่งที่บุคคลนั้นอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ทัศนวิสัยต่ำ เช่น งานจราจร หน่วยงานรักษาความปลอดภัยทั่วไป งานก่อสร้าง งานเหมือง งานภาคสนามบิน เจ้าหน้าที่ในโรงงานอุตสาหกรรม พนักงานซ่อมบำรุง พนักงานดับเพลิง มอเตอร์ไซค์รับจ้าง เป็นต้น
 

ประเภทของเสื้อกั๊กสะท้อนแสง
 
  • เสื้อกั๊กสะท้อนแสงทรงตัว V เหมาะสำหรับ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในสถานที่ก่อนสร้าง งานจราจร เจ้าหน้าที่โรงงานอุตสาหกรรม  งานภาคสนามบิน คนงานในส่วนของร่างรถไฟ เป็นต้น
  • เสื้อกั๊กสะท้อนแสงแบบมีไฟกระพริบ เหมาะสำหรับ การใช้งานในเวลากลางคืน เช่น งานตำรวจจราจร ผู้ปฏิบัติงานสุขาภิบาล นักวิ่ง นักปั่นจักรยาน เป็นต้น

  • เสื้อสะท้อนแสงแบบแทบคู่ เหมาะสำหรับ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เจ้าหน้าที่บนทางหลวง หรือพนักงานที่ปฏิบัติงานในสถานที่เสี่ยงอันตราย
  • เสื้อกักสะท้อนแสงแบบหลายกระเป๋า เหมาะสำหรับ สำหรับสวมใส่ทำงานในพื้นที่อันตราย เช่น งานภาคสนามบิน งานก่อสร้าง งานซ่อมบำรุง พื้นที่ไซด์งานในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
 
คำแนะนำสำหรับการใช้เสื้อกั๊ก ภายใต้มาตรฐาน ANSI/ISEA 107-2015  ในสภาพแวดล้อมการทำงานประเภทต่าง ๆ
          ซึ่งมาตรฐาน ANSI /  ISEA 107-2015 นี้ ได้ถูกแบ่งเป็น 4  Class ( Class 1, 2, 3, และ E ) และยังกำหนดวัสดุที่นำมาใช้ผลิตเสื้ออีกด้วย ( Type O, P และ R ) ดังนี้
 
Class 1
  • จะใช้ในงานที่มีความแตกต่างของผู้ปฏิบัติงานกับสภาพแวดล้อมที่มี background ไม่ซับซ้อนมาก
  • เครื่องจักรหรือยานพาหนะวิ่งไม่เกิน 25 mph
  • มีพื้นที่ระหว่างคนกับเครื่องจักรพอสมควร
เช่น งานในคลังสินค้า งานส่งสินค้า หรือ ในชั้นวางสินค้าของห้าง เป็นต้น
 
Class 2
  • ทำงานในที่มีรถวิ่ง 25-50 mph หรือ มีแผงกั้นระหว่างคนทำงานกับรถวิ่ง
  • ทำงานในที่มี background ซับซ้อน
  • สภาพอากาศเลวร้าย และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
เช่น คนกั้นทางข้ามโรงเรียน คนทำงานในสนามบิน / โหลดกระเป๋า
 
Class 3
  • ทำงานใกล้กับที่มีรถวิ่ง 50 mph ขึ้นไป
  • ไม่มีแผงกั้นระหว่างทำงานถนน
  • มี background ซับซ้อน
  • สามารถมองเห็นได้ในระยะ 1/4 ไมล์
เช่น งานก่อสร้างถนน / ซ่อมบำรุงทางหลวง คนโบกธง ตำรวจจราจร นักสำรวจ หน่วยกู้ชีพกู้ภัย ทำงานในที่แสงน้อยหรือที่อันตรายมากๆ


          ส่วน Class E หมายถึง กางเกงหรือชุดหมี เมื่อสวมใส่ร่วมกับเสื้อหรือเสื้อกั๊ก ในชุดที่เป็นแบบ Class 2 หรือ Class 3 ซึ่งเมื่อใส่รวมกันแล้ว ชุดทั้งหมดจะถูกจัดอยู่ใน Class 2 หรือ Class 3
 
มาตราฐาน ANSI ยังกำหนดประเภทของวัสดุในการทำชุด(เนื้อผ้า) ไว้ 3 ประเภท(type) ได้แก่
  1. Type O – Off-road : สำหรับใช้ในสภาพแวดล้อมนอกถนน หรือในสภาพแวดล้อมที่สามารถควบคุมได้
  2. Type R – Road : สำหรับใช้งานบนถนน และการจราจร
  3. Type P – Public Safety activity : สำหรับใช้งานความปลอดภัยในที่สาธารณะ
 
 
         โดยส่วนใหญ่เนื้อผ้าจะผลิตมาจากโพลีเอสเตอร์ และไนลอนคาดด้วยแถบสะท้อนแสงที่ด้านหน้าและด้านหลังเพื่อช่วยให้มองเห็นในระยะไกลได้ชัดเจน มีหลายรูปทรงและหลายสีให้ได้เลือกใช้งาน (เหลือง, ส้ม, แดง, เขียว, สีขาว) เนื่องจากเสื้อกั๊กสะท้อนแสงเป็นแบบฟรีไซส์ มีน้ำหนักเบา ไม่ยับง่าย ทนทานต่อแสงแดดและสภาพแวดล้อมที่เปียกชื้นได้ และระบายความร้อนได้ดี จึงทำให้ผู้ใช้งานสามารถสวมใส่ได้ต่อเนื่องในเวลากลางวันและกลางคืนโดยไม่ทำให้รู้สึกร้อนและอึดอัดในขณะปฏิบัติงาน

          ฉะนั้นควรมองหากฉลากบนเสื้อกั๊กสะท้อนแสง เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้เลือก Class ของเสื้อกั๊ก และการใช้งานได้ถูกต้องตามสภาพแวดการทำงานของคุณ หรือสอบเจ้าหน้าเพิ่มเติม >>คลิกที่นี้<<
 
เรียบเรียบโดย : Napat.k
 
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้ที่นี่
 
อีกช่องทางสอบถาม หรือขอใบเสนอราคา
https://www.facebook.com/PPEMATE.Safety
Line : @ppemate หรือคลิก https://lin.ee/yyfFLmS

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ